กลยุทธ์การลงทุนในโรงแรม แนะนำโดยที่ปรึกษาด้านการบริหารโรงแรม
แม้ว่าธุรกิจโรงแรมทั่วโลกจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากไวรัสโควิด-19 จนทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงอย่างน่าใจหาย แต่ก็มีแนวโน้มที่จะกลับมาสดใสได้อีกครั้งในอีกไม่กี่ปี ประเทศไทยเองก็ยังคงมีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยว มีพื้นที่ดีๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นโรงแรมคุณภาพได้อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม การลงทุนในโรงแรมจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในธุรกิจนี้อย่างรอบด้าน ในฐานะที่ปรึกษาด้านการบริหารโรงแรมที่มีประสบการณ์ในแวดวงนี้มาอย่างยาวนาน PCL จึงอยากแนะนำกลยุทธ์แก่ผู้ประกอบการโรงแรมหรือนักลงทุนที่กำลังมองหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจโรงแรมอยู่ เพื่อให้ทุกท่านมีแนวทางในการพัฒนาธุรกิจโรงแรมสู่ความสำเร็จได้อย่างมั่นคง
ทำเลที่ตั้ง
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ใดๆ ก็ตาม ทำเลถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุด ทั้งนี้ทำเลแต่ละแห่งย่อมมีคุณสมบัติเฉพาะตัวซึ่งมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยอยู่ในตัวเอง การมองเห็นศักยภาพของทำเลว่าสามารถนำมาพัฒนาเป็นโรงแรมประเภทใดจึงจะเหมาะสมคือปัจจัยแรกที่จะทำให้โรงแรมประสบความสำเร็จได้ ที่ปรึกษาด้านการบริหารโรงแรมจะช่วยศึกษาทำเลที่คุณต้องการเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาโรงแรมที่ดีที่สุด
กฎหมาย
มีกฎหมายหลายข้อที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติควบคุมอาคารซึ่งครอบคลุมการก่อสร้างโรงแรมด้วย พื้นที่บางแห่งอาจมีข้อจำกัดในการก่อสร้างตึกสูง นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดมากมายในรายละเอียดที่หากไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างโรงแรมก็อาจจะไม่ทราบ เช่น ขนาดห้องพักต้องไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตรและมีความสูงไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร ความกว้างของทางเดินในอาคารต้องไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร ความลาดชันของบันไดหนีไฟต้องไม่เกิน 60 องศา และต้องมีชานพักบันได โรงแรมที่มีห้องพักไม่เกิน 100 ห้อง ให้มีที่จอดรถไม่น้อยกว่า 10 คัน สำหรับห้องพัก 30 ห้องแรก ส่วนที่เกินมา 30 ห้อง ให้คิด 5 ห้องต่อที่จอดรถ 1 คัน หากมีเศษของ 5 ห้องให้คิดเท่ากับ 5 ห้อง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่ปรึกษาด้านการบริหารโรงแรมอย่าง PCL พร้อมให้คำแนะนำเป็นอย่างดี เพราะเรามีทีมผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ตลาด
อันดับต่อมาคือเข้าใจภาพรวมของตลาด รู้ว่าสิ่งที่ตลาดต้องการในตอนนี้และอนาคตอันใกล้คืออะไร ซึ่งการมองเห็นภาพของตลาดและ Persona ของลูกค้าจะช่วยให้การวาง Position ของโรงแรมง่ายขึ้น เช่น หาก Persona เป็นนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ก็ต้องวาง Position ไว้ว่าเป็นโรงแรมสำหรับคนรักสุขภาพ อาจเน้นแพ็กเกจสปา ซาวน่า รวมถึงเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น สิ่งนี้จะนำไปสู่แผนการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งในลำดับต่อๆ ไป หรือหากต้องการเลือกแบรนด์โรงแรมที่มีอยู่แล้วก็จะสามารถเลือกแบรนด์มาใช้ได้อย่างลงตัว โดยที่ปรึกษาด้านการบริหารโรงแรมนั้นสามารถให้คำแนะนำและประสานงานในเรื่องการติดต่อแบรนด์ได้
การออกแบบ
ปกติแล้วแบรนด์โรงแรมที่มีชื่อเสียงทั้งหลายจะมีคู่มือในการออกแบบส่วนต่างๆ ของโรงแรมเอาไว้อย่างละเอียดอยู่แล้ว ทำให้มีแนวทางที่ชัดเจนในการออกแบบให้เข้ากับแบรนด์ อย่างไรก็ตามโรงแรมแต่ละแห่งก็ต้องมีความแตกต่างกันไปเพื่อให้เข้ากับพื้นที่และสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองให้โดดเด่น เช่น อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ใกล้ BTS เลยต้องการเป็นโรงแรมของคนที่ชอบทำ Work from Hotel อำนวยความสะดวกเรื่องอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีโต๊ะทำงานทั้งในห้องพักและพื้นที่ส่วนกลาง มีสแกนเนอร์ พรินเตอร์บริการ มีห้องสำหรับประชุมงาน เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องของฟังก์ชันในการใช้งานของโรงแรมสำหรับพนักงานและแขกที่มาเข้าพักก็สำคัญไม่แพ้กัน จำเป็นต้องคุยกับที่ปรึกษาด้านการบริหารโรงแรมเพื่อหารือรายละเอียดในการออกแบบ
คู่แข่ง
ต้องรู้ว่าคู่แข่งในตลาดเดียวกันมีใครบ้าง แต่ละรายทำโรงแรมแบบไหน มีจุดแข็งและจุดอ่อนอะไร อุปสงค์-อุปทานของโรงแรมคู่แข่งเหล่านี้เกิดจากปัจจัยใดบ้าง สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลเชิงลึกอย่างจริงจังถึงจะรู้ว่าต้องทำอย่างไรจึงสามารถลงแข่งขันกับคู่แข่งแต่ละรายได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
กลยุทธ์เหล่านี้ยังมีรายละเอียดให้ลงลึกได้อีกมากมาย ซึ่งที่ปรึกษาด้านการบริหารโรงแรมจะช่วยให้คุณสามารถลงทุนในแต่ละขั้นตอนได้อย่างมั่นใจ เพื่อรากฐานของธุรกิจโรงแรมที่แข็งแกร่ง พร้อมก้าวสู่การเป็นโรงแรมชั้นนำได้ในที่สุด