คำแนะนำจากที่ปรึกษาธุรกิจโรงแรม
หลังจากที่ประเทศไทยผ่านพ้นช่วงรับมือกับวิกฤตไวรัสโควิด-19 ไปเมื่อกลางปี 2563 สถานการณ์ที่เคยตึงเครียดเริ่มคลี่คลาย โรงแรมทั้งหลายกลับมาเปิดทำการตามปกติพร้อมกับมาตรการด้านสุขอนามัยที่เพิ่มมากขึ้น พนักงานต่างต้องปรับตัวกับการให้บริการยุค New Normal ที่ต้องรักษาความสะอาดอย่างเข้มงวด และการเว้นระยะห่างทางสังคม แต่ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเข้าพักในโรงแรมนั้นลดลงอย่างมากจนน่าเป็นห่วง ซึ่งหลังจากนี้โรงแรมจะเอาตัวรอดกันอย่างไร เพราะลำพังแค่กลยุทธ์แบบเดิมนั้นคงไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว PCL Hospitality ในฐานะที่ปรึกษาโรงแรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสินทรัพย์และการพัฒนาโรงแรม เราจึงรวบรวมข้อเสนอแนะที่จะช่วยให้ธุรกิจโรงแรมของคุณเติบโตต่อได้แบบไม่มีสะดุด ดังต่อไปนี้
เน้นลูกค้าในประเทศ
เนื่องจากนักท่องเที่ยวยังไม่สามารถเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงต้องใช้เวลากักตัวนานถึง 14 วัน ดังนั้นธุรกิจโรงแรมจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าชาวไทยให้ได้ โดยเฉพาะคนในพื้นที่เดียวกันกับโรงแรม ทั้งในเรื่องของราคาที่เอื้อมถึงได้และโปรโมชันที่ดึงดูด เพื่อกระตุ้นให้คนที่สนใจอยากเปลี่ยนบรรยากาศ ได้มาพักผ่อนหรือนั่งทำงานที่โรงแรม แม้โรงแรมอาจสูญเสียรายได้จากส่วนลดค่าที่พัก แต่ก็มีโอกาสเพิ่มรายได้จากช่องทางอื่นมาทดแทนได้ เช่น ปรับพื้นที่บางส่วนเป็น Co-Working Space, และถึงแม้ว่าต่อไปจะมีการคิดค้นวัคซีนได้สำเร็จ และนักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ตามปกติ แต่เราควรให้ความสนใจคนไทยไม่น้อยไปกว่าคนต่างชาติ
เพิ่มความยืดหยุ่นให้ระบบการจอง
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและภัยพิบัติครั้งใหญ่ นักท่องเที่ยวมักจะใช้วันในการท่องเที่ยวน้อยลง, เดินทางในระยะไม่ไกลจากบ้านมาก และมีระยะการวางแผนจองห้องพักที่กระชั้นชิดมากขึ้น เช่น ภายในเดือนเดียวกัน เป็นต้น ในฐานะที่ปรึกษาธุรกิจโรงแรมจึงขอแนะนำว่าผู้บริหารควรคำนึงถึงความต้องการเหล่านี้เหมือนที่โรงแรมชั้นนำ หลายแห่งทำในช่วงล็อกดาวน์ด้วยการปรับกฎระเบียบการจองและยกเลิกที่พักให้มีความยืดหยุ่น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เช่น สามารถยกเลิกการจองห้องพักได้
คุณภาพสำคัญกว่าจำนวน
ผู้บริหารโรงแรมควรเปลี่ยน KPI จากที่เคยเน้นที่ปริมาณแขกที่มาเข้าพัก เปลี่ยนเป็นเน้นที่ราคาแทน แล้วดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่ม Premium ที่มีรายได้สูงให้มากขึ้น เพราะในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ซบเซาเช่นนี้ มีเพียงนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงที่เข้ามาใช้บริการ โดยผู้บริหารต้องเน้นไปที่การสร้าง Value หรือคุณค่าของบริการและองค์ประกอบอื่นๆ ของโรงแรมอย่างร้านอาหาร สถานที่ออกกำลังกาย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทางโรงแรมมีเอาไว้ให้บริการ
บริหารทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ
ในสถานการณ์ที่สถานะทางการเงินของโรงแรมต่างก็ติดขัด จึงจำเป็นต้องตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป และไม่ก่อหนี้เพิ่ม ที่ปรึกษาด้านการบริหารโรงแรมอย่างเราจึงอยากแนะนำว่า ให้ลองปรับบริการหลายๆ อย่างในโรงแรมให้เป็น Self Service เพื่อลดการจ้างพนักงาน เช่น ให้ลูกค้าสามารถเช็กอินผ่านแอปพลิเคชัน หรืออีเมลยืนยันจากการแสกน QR Code เพื่อเข้าพักได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้พนักงานได้ลองทำหลากหลายหน้าที่ เพราะการทำแค่หน้าที่เดียวอย่างที่ผ่านมานั้นอาจไม่พอที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้ ทุกคนในองค์กรจึงต้องช่วยกัน เช่น คนคนหนึ่งอาจทำได้ทั้งการเป็น Reception และ Operator หรือ Reservation รวมถึงมีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะของพนักงานเนื่องจากทุกคนมีเวลาว่างมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้บริหารก็ต้องรักษาบุคลากรเหล่านี้ให้ดีที่สุด เพราะหากมุ่งเน้นการลดพนักงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างเดียวจะทำให้มีกำลังคนไม่พอเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การบริหารโรงแรมให้อยู่รอดได้หลังยุคโควิด-19 นั้นเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง หากคุณต้องการข้อมูลในเชิงลึกเพื่อช่วยให้การตัดสินใจและวางกลยุทธิ์ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำจากที่ปรึกษาธุรกิจโรงแรมเพื่อให้ได้แนวทางการบริหารที่เหมาะสมที่สุด